ไทยเสนอ 3 แผนพัฒนาลุ่มน้ำโขง !

402

วันนี้ (วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม 2561) เวลา 10.50 น. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมการประชุมเต็มคณะของการประชุมสุดยอดผู้น้าแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุลุ่มแม่น้้าโขง 6 ประเทศ ครั้งที่ 6 ใน หัวข้อ “การใช้ประโยชน์ของความร่วมมือและการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อบูรณาการให้เกิดความมั่งคั่งร่วมกัน ในรอบ 25 ปีที่ผ่านมา”(Leveraging on 25 Years of Cooperation, and Building a Sustainable, Integrated, and Prosperous GMS) ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติเวียดนาม

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีได้กล่าวเน้นย้้าถึงบทบาทและความสำเร็จของ GMS ที่มีมาอย่างต่อเนื่องถึง 25 ปี เพราะวิสัยทัศน์ 3C ของ GMSที่ได้วางไว้ และเพราะการทำงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอนตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา GMSประสบความสำเร็จสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อมุ่งเชื่อมโยงประชาชน 340 ล้านคน ของทั้ง 6 ประเทศรวมทั้งบูรณาการการพัฒนาเชิงพื้นที่ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจ เพื่อยกระดับรายได้ ลดความยากจน และลดความเหลื่อมล้้าของประชาชน

และในโอกาสเดียวกันนี้ นายกรัฐมนตรีไดเ้สนอแผนการทำงานที่ให้ความสำคัญใน 3 ประเด็น ได้แก่

การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งให้มีคุณภาพเพื่อการเชื่อมโยงอย่างมีคุณภาพไร้รอยต่อ ไทยได้เร่งพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งไปยังประตูเชื่อมโยงตามแนวชายแดน โดยเฉพาะการพัฒนาเมืองในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามแนวระเบียงเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงผ่านประเทศไทยไปถึงโครงข่ายที่สำคัญภายใต้กรอบความร่วมมือ IMT-GT ทางตอนใต้ของประเทศไทย

เรง่พัฒนาอย่างรอบด้านเพื่อมุ่งสู่อนุภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง ไทยกำลังเร่งพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันทางเศรษฐกิจผ่านการพัฒนาเชิงพื้นที่ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อผลักดันให้ไทยเข้าสู่ยุค 4.0อย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกภายใต้โคงการ EECให้สามารถสนับสนุนการเชื่อมโยงการผลิตกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคและโลกจึงขอให้ประเทศสมาชิกแผนงานGMS ยึดหลัก 3M ได้แก่ ความไว้เนื่อเชื่อใจ(Mutual Trust)การเคารพซึ่งกันและกัน (Mutual Respect) และการมีผลประโยชน์ร่วมกัน(Mutual Benefit)

เราต้องผลักดันให้ GMS เป็นประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน มีความตั้งใจ และยั่งยืน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยเฉพาะด้านทักษะและสุขภาพ เพื่อเตรียมพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยไทยมีนโยบายประเทศไทย 4.0โดยจะเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ควบคู่ไปกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตลอดจนการจะมุ่งสู่ประชาคมGMS ที่มั่งคั่ง ยั่งยืน จะต้องมีการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

ซึ่งในตอนท้ายนายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณธนาคารพัฒนาเอเชียที่ได้สนับสนุนการเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาที่สำคัญของแผนงานความร่วมมือของGMS ตลอดระยะเวลากว่า 25 ปีที่ผ่านมา

0%
Comments
Loading...