14 จังหวัด ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือรับมือน้ำป่าไหลหลาก

994

กระทรวงมหาดไทยโดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ประสาน 14 จังหวัดภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือเตรียมพร้อมรับมือน้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ในวันที่ 8 ส.ค.63 โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศปริมาณฝน ระดับน้ำ และแนวโน้มสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิดพร้อมจัดชุดเคลื่อนที่เร็วเครื่องมืออุปกรณ์ประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยรวมถึงแจ้งเตือนประชาชนติดตามพยากรณ์อากาศ และปฏิบัติตามประกาศเตือนภัยอย่างเคร่งครัด

14 จังหวัด ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือรับมือน้ำป่าไหลหลาก

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า กองอำนวยการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ติดตามสภาพอากาศและปริมาณฝนสะสมกับกรมอุตุนิยมวิทยาและกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ พบว่า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) จึงได้ประสาน 14 จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เตรียมพร้อมรับมือน้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ในช่วงวันที่ 8 สิงหาคม 2563 แยกเป็น พื้นที่เฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลาก ภาคเหนือ 5 จังหวัด ได้แก่ น่าน (อำเภอสองแคว อำเภอปัว อำเภอบ่อเกลือ อำเภอเมืองน่าน อำเภอเชียงกลาง อำเภอเวียงสา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอบ่อหลวง) พะเยา (อำเภอภูซาง และอำเภอเชียงคำ) เชียงราย (อำเภอเชียงของ) แม่ฮ่องสอน (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน) เชียงใหม่ (อำเภอเชียงดาว อำเภอฝาง และอำเภอแม่อาย) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ (อำเภอเมืองชัยภูมิ) พื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง แม่น้ำน่าน จังหวัดน่าน (อำเภอท่าวังผา อำเภอเมืองน่าน อำเภอเวียงสา และอำเภอสองแคว) แม่น้ำแม่ลาว จังหวัดเชียงราย แม่น้ำป่าสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอหล่มสัก) แม่น้ำโขง จังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี รวมถึงสั่งการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัยเตรียมพร้อมรับมือ

สถานการณ์ภัยในช่วงดังกล่าวโดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ ปริมาณฝน พร้อมวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงและแนวโน้มสถานการณ์ภัยต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง จัดชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต (ERT) รถปฏิบัติการและเครื่องจักรกลสาธารณภัยให้พร้อมเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันที อีกทั้งประสานหน่วยงานในพื้นที่ อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสร้างการรับรู้และแจ้งเตือนประชาชนให้ทราบสถานการณ์ภัยและแนวทางการปฏิบัติตนอย่างปลอดภัย ผ่านทุกช่องทาง เช่น สื่อสังคมออนไลน์ วิทยุชุมชน หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน สำหรับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน

14 จังหวัด ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือรับมือน้ำป่าไหลหลาก
Comments
Loading...